วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดเครือค่ายคอมพิวเตอร์

1.จงอธิบายความหมายของเครือข่ายมาพอเข้าใจ
ตอบ   ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้
2.จงอธิบายความหมายคำว่าอินเตอร์เนต
ตอบ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก โดยมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นหนึ่งเดียวซึ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะสามารถรับส่งข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตัวอักษร , ภาพและเสียงได้ รวมทั้งสามารถค้นหาข้อมูลจากที่ต่าง ๆ ได้รวดเร็ว
3.จงเขียนอธิบายรูปแบบการเชื่อมต่อดังนี้
1.แบบดาว
 
แบบดาว (star)

ข้อดี
- เมื่อเกิดข้อผิดพลาดในระบบสามารถตรวจสอบหาข้อผิดพลาดได้
-เครือข่ายมีความคงทนสูง
ข้อเสีย
-สิ้นเปลื่องสายสัญญาณ
-มีข้อจำกัดในจำนวนของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะนำมาเชื่อมต่อ
2.แบบวงแหวน
แบบวงแหวน (ring)

ข้อดี
-ประหยัดสายสัญญาณ
-เครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือค่ายจะมีโอกาสในการส่งข้อมูลได้เท่าเทียมกัน
ข้อเสีย
-การตรวจสอบเมื่อเกิดความผิดพลาดทำได้ยาก
3.แบบบัส
แบบบัส (bus)
ข้อดี
-เป็นโครงสร้างที่เชื่อมต่อได้ง่ายไม่ซับซ้อน
-ประหยัดสายสัญญาณ
ข้อเสีย
-เมื่อระบบเกิดความผิดพลาด การหาข้อผิดพลาดในเครือค่ายจะทำได้ยาก
4.แบบทรีหรือต้นไม้

ข้อดี
-ถ้าสถานีใดเสีย หรือสายเชื่อมต่อระหว่างฮับ/สวิตซ์กับสถานีใดชำรุด ก็จะไม่กระทบกับการเชื่อมต่อของสถานีอื่น
4. จงสรุปว่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อบนเครือข่ายมีอะไรบ้างพร้อมให้นิยามความหมายมาพอเข้าใจ
ตอบ     1.ฮับ คือ อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อและรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ภายในและเครือข่ายแลน

             2.สวิตซ์ คือ การนำความสามารถของฮับและบริดจ์มารวมกัน

             3. บริดจ์ คือ เปรียบเสมือนกับสพานที่เชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย โดยจักการกับข้อมูลที่มีการรับส่งไปมาระหว่างเครือข่าย

             4. เราท์เตอร์ คือ อุปการณ์ที่มีความสามรถสูงกว่าบริดจ์ มีความสามารถในการจัดหาเส้นทางในการส่งข้อมูลได้เป็นอย่างดี

             5.เกตเวย์ คือ เปรียบเสมือนประตูที่สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอรืที่ทีมาตราฐานที่แตกต่างกัน

5. จงอธิบายความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้มาพอเข้าใจ
1.LAN คือ เครือข่ายส่วนบุคคล
2.WAN คือ เครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่ในการเชื่อมโยงที่ในระดับประเทศ
3.Frame Relay คือ การออกแบบสื่อสารโทรคมนาคมสำหรับประสิทธิภาพต้นทุนการส่งผ่านสำหรับการจราจรเป็นช่วงระหว่างเครือข่ายพื้นที่ท้องถิ่น (local area network) และระหว่างจุดปลายในเครือข่ายพื้นที่กว้าง
4.Ethernet คือ เป็นเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เป็นฐานหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งหมด
5.Internet คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นจำนวนมากครอบคลุมไปทั่วโลกโดยอาศัยโครงสร้างระบบสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล
6.Protocol คือ ข้อกำหนดที่ใช้เพื่อเป็นมาตรฐานสำหรับการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ หรือภาษาที่ใช้สื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย
7.Fiber optic คือ สายสัญญาณของระบบเครือข่ายอีกชนิดหนึ่ง ที่มีความสามารถในการรับ-ส่งสัญญาณได้ไกลๆ
8.ATM คือ ระบบสื่อสารข้อมูลลความเร็วสูง ซึ่งสามารถใช้ส่งข้อมูลได้ทุกรูปแบบ
9.VPN คือ เครือข่ายเสมือนส่วนตัว ที่ทำงานโดยใช้ โครงสร้างของ เครือข่ายสาธารณะ หรืออาจจะวิ่งบน เครือข่ายไอพีก็
6.จงเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกียวข้องกับระบบเครือข่ายมา 20คำพร้อมอธิบายความหมายและคำอ่านภาษาอังกฤษ
Bandwidth
แบนด์วิดท์ หมายถึง ความจุข้อมูล ของเส้นทาง เชื่อมต่อเครือข่าย ที่สามารถส่งผ่านไปได้ ซึ่งบอกถึง ความเร็วในการส่งข้อมูล ตัวอย่างเช่น การเชื่อมโยงระบบ Ethernet นั้น สามารถส่งผ่านข้อมูลได้ เป็นจำนวน 10 ล้านบิตต่อวินาที ในขณะที่ การเชื่อมโยงระบบ Fast Ethernet นั้น สามารถส่งข้อมูลได้ เร็วกว่าถึง 100 ล้านบิตต่อวินาที จึงมีแบนด์วิดท์มากกว่า เป็น 10 เท่า
Bridge
บริดจ์ เป็นอุปกรณ์สำหรับ ส่งผ่านกลุ่มข้อมูล (packets) ผ่านส่วนต่างๆ ของเครือข่ายสื่อสาร โดยอาศัย โปรโตคอลสื่อสาร อันเดียวกัน ในกรณีที่ กลุ่มข้อมูลนั้น ต้องถูกส่งไปยัง ผู้ใช้ปลายทาง ที่อยู่ในเครือข่าย ส่วนเดียวกันกับผู้ส่ง บริดจ์จะไม่ส่งผ่านข้อมูล ออกไป นอกส่วนเครือข่ายนั้น แต่ในกรณีที่ ต้องส่งข้อมูล ไปยังส่วนอื่น บริดจ์ก็จะส่งผ่านข้อมูล ออกไป ผ่านทาง Backbone ของเครือข่าย
Client
ไคลเอ็นท์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องปลายทาง (terminal) ที่ต่ออยู่กับ เครือข่าย ที่สามารถใช้ "บริการ" ร่วมกันกับ เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นได้ บริการเหล่านี้ จะถูกจัดเก็บ และบริหาร โดยเครื่องเซิร์ฟเวอร์
Extranet
เอ็กซ์ทราเน็ตเป็นระบบเครือข่าย สำหรับผู้ใช้ภายนอกระบบ (เช่น ผู้ผลิตอุปกรณ์ ผู้ขายอิสระ และตัวแทนจำหน่าย เป็นต้น) ให้สามารถ เข้ามาสืบค้นข้อมูล ของบริษัทเช่น ราคาสินค้า รายการสินค้าคงคลัง กำหนดการส่งของ เป็นต้น
Gigabit Ethernet
กิกะบิตอีเธอร์เน็ต เป็นระบบอีเธอร์เน็ต รุ่นล่าสุด ที่สามารถทำกา รส่งข้อมูล ที่ความเร็วถึง 1000 เมกะบิต (1 กิกะบิตต่อวินาที) ซึ่งเร็วกว่า อีเธอร์เน็ต แบบดั้งเดิม ถึง 100 เท่า แต่ยังสามารถ ทำงานร่วมกับ ระบบอีเธอร์เน็ตเดิม ที่มีอยู่ได้ ทั้งนี้เนื่องจาก ยังใช้โปรโตคอล CSMA/CD และ Media Access Control (MAC) ที่เหมือนกัน ระบบกิกะบิตอีเธอร์เน็ตนี้ เป็นคู่แข่งโดยตรง กับ ระบบ ATM และทำให้ หมดยุคของระบบ FDDI และ Token Ring ไปโดยปริยาย
Internet
อินเทอร์เน็ต เป็นระบบเครือข่ายทั่วโลกขนาดใหญ่ ที่ต่อเชื่อม คอมพิวเตอร์ และเครือข่าย จำนวนมากทั่วโลก เข้าด้วยกัน และสามารถเข้าถึงได้ จากเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใดก็ได้ โดยอาศัย การต่อเชื่อมกับ โมเด็ม หรือเราเตอร์ (Router) และโปรแกรมที่เหมาะสม
Modem
โมเด็ม เป็นอุปกรณ์สำหรับ ต่อเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ เข้ากับ เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายอื่นๆ โดยอาศัย คู่สาย โทรศัพท์ธรรมดาเท่านั้น โมเด็มจะทำการ "โมดูเลต" สัญญาณดิจิตอล ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เข้ากับสัญญาณแอนาล็อก สำหรับการส่งข้อมูล และทำการ "ดีโมดูเลต" สัญญาณแอนาล็อกเหล่านั้น กลับไปเป็น ข้อมูลดิจิตอล ที่คอมพิวเตอร์อีกฝั่งหนึ่ง สามารถเข้าใจได้
WORLD WIDE WEB
WWW หรือ Web ระบบที่อนุญาตให้ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต สามารถค้นหาข้อมูลภายใน web
URL
Unique Resource Locator ชื่อของคอมพิวเตอร์ ใช้เพื่อระบุตำแหน่งของเอกสารบน เวิลด์ ไวด์ เว็บ
SPAM MAIL
Email ที่ถูกส่งมายังผู้รับ โดยผู้รับไม่ได้ยินยอม โดยมีลักษณะคือส่งมาบ่อย ๆ และมักเป็นเรื่องเกี่ยวกับการขายสินค้าและบริการ







ใบงาน บทที่3 เรื่อง เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์


1.คอมพิวเตอร์คืออะไร
ตอบ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์

2. ให้นักเรียนวาดรูปแสดงวงจรการทำงานของคอมพิวเตอร์มาให้สมบูรณ์มากที่สุด

                                                                 

3.คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง

ตอบ  - ความเร็ว (Speed) คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ถึงร้อยล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที
        - ความเชื่อถือได้ (Reliable) คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ทั้งกลางวันและกลางคืนอย่างไม่มีข้อผิดพลาด และไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
       - ความถูกต้องแม่นยำ (Accurate) วงจรในคอมพิวเตอร์จะให้ผลการคำนวณที่ถูกต้องเสมอ
       - เก็บข้อมูลจำนวนมากๆ ได้ (Store massive amount of information) ไมโครคอมพิวเตอร์จะมีที่เก็บข้อมูลสำรองที่มีความจุมากกว่าหนึ่งพันล้านตัวอักษร และ ระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่จะสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าหนึ่งล้านๆ ตัวอักษร

4.คอมพิวเตอร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ มี 6 ประเภท คือ
1.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด จึงราคาแพงมาก ความสามารถในการประมวลผลที่ทำได้มากกว่า พันล้านคำสั่งต่อวินาที ตัวอย่างการใช้งานคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เช่น การพยากรณ์อากาศการทดสอบทางอวกาศ และงานอื่น ๆ ที่มีการคำนวณที่ซับซ้อน

2.คอมพิวเตอร์เมนเฟรมหรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (mainframe computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพรองจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายร้อยคนในเวลาเดียวกัน ประมวลผลด้วยความเร็วสูง มีหน่วยความจำหลักขนาดใหญ่ ตลอดจนการจัดเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก คอมพิวเตอร์เมนเฟรม นิยมใช้กับองค์การขนาดใหญ่ที่มีการเข้าถึง ข้อมูลของผู้ใช้จำนวน มากในเวลาเดียวกันเช่น งานธนาคาร การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียนและการตรวจสอบผลการเรียน ของนักศึกษา เป็นต้น

3.เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (server computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่สนับสนุนการทำงานของคอมพิวเตอร์ เครือข่ายซึ่งใช้ในการจัดสรรและใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น แฟ้มข้อมูล โปรแกรมประยุกต์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ( เช่น เครื่องพิมพ์แลอุปกรณ์อื่น ๆ )


4.ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer)ดังนี้ เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีผู้นิยมใช้แพร่หลายมากที่สุด ส่งผลให้การพัฒนาเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีลักษณะและรูปแบบ ที่แตกต่างกัน เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ( desktop computer ) คอมพิวเตอร์พกพา ( portable computer )
ซึ่งมีรายละเอียด.
5.คอมพิวเตอร์แบบฝัง (embedded computer ) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ฝังในอุปกรณ์ต่าง ๆ นิยมนำมาใช้ทำงาน เฉพาะด้าน พิจารณาจากภายนอกจะไม่เห็นว่าเป็นคอมพิวเตอร์แต่จะ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่างของอุปกรณ์นั้นๆ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เช่น เครื่องเล่นเกม ระบบเติมน้ำมันอัตโนมัติ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

6.มินิคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (minicomputer)เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยกว่า เมนเฟรมแต่สูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ และสามารถรองรับการทำงาน จากผู้ใช้ได้หลายคนในการทำงาน ที่แตกต่างกัน จากจุดเริ่มต้นใน การพัฒนา ที่ต้องการให้ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ทำงานเฉพาะอย่าง เช่น การคำนวณทางด้านวิศวกรรม ทำให้การพัฒนามินิคอมพิวเตอร์ เจริญอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันธุรกิจและองค์การหลายประเภทนิยมนำ มินิคอมพิวเตอร์มา ใช้ในการให้บริการข้อมูลแก่ลูกค้า เช่น การจองห้องพักของโรงแรม การทำงานด้านบัญชีขององค์การธุรกิจ เป็นต้น
5. งานด้านการวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม ควรเลือกใช้คอมพิวเตอร์ประเภทใดเพราะเหตุใดถึงเลือกคอมพิวเตอร์ประเภทนั้น
ตอบ    การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ทางด้านวิทยาศาสตร์มีมาก ในสถาบันการศึกษา ตลอดจนสถาบันวิจัยต่าง ๆ มีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการวิจัยทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์ เช่น การวิจัยในทางนิวเคลียร์ฟิสิกส์ ซึ่งเป็นวิชาว่าด้วยส่วนประกอบที่เล็กที่สุดของสสาร การค้นคว้าทดลองทางวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ ทำให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างไม่หยุดยั้ง เช่น ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์มีการใช้คอมพิวเตอร์ ให้มีส่วนร่วมต่อการออกแบบโครงสร้าง ทางวิศวกรรมที่ยุ่งยากสลับซับซ้อน ทำให้มีส่วนช่วยต่อการออกแบบ ทางด้านวิศวกรรมและ สถาปัตยกรรมได้อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด บทบาทของคอมพิวเตอร์ทางด้านวิทยาศาสตร์จึงมี ประโยชน์ต่อการพัฒนาข้อมูลสารนิเทศอย่างไม่หยุดยั้ง
6.ระบบงานจองห้องพักของโรงแรม ควรเลือกใช้คอมพิวเตอร์ประเภทใดเพราะเหตุใดถึงเลือกคอมพิวเตอร์ประเภทนั้น
ตอบ มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดกลางที่มีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยกว่าเมนเฟรม แต่สูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้หลายร้อยคน (Multi-user) ในการทำงานที่แตกต่างกัน (Multi Programming) เช่นเดียวกับเครื่องเมนเฟรม แต่สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างเครื่องเมนเฟรมและเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ คือ ความเร็วในการทำงาน เนื่องจากมินิคอมพิวเตอร์ทำงานได้ช้ากว่า และควบคุมผู้ใช้งานต่าง ๆ ในจำนวนที่น้อยกว่า รวมทั้งสื่อที่เก็บข้อมูลมีความจุน้อยกว่าเมนเฟรม จึงเหมาะกับองค์กรขนาดกลาง เพราะมีราคาถูกกว่าเครื่องเมนเฟรมมาก ทำงานเฉพาะด้าน เช่น การคำนวณทางด้านวิศวกรรม การจองห้องพักของโรงแรม การทำงานด้านบัญชีขององค์การธุรกิจ เป็นต้น ในสถานศึกษาต่าง ๆ และบางหน่วยงานของรัฐนิยมใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้
7.ระบบงานธนาคาร ควรเลือกใช้คอมพิวเตอร์ประเภทใด เพราะเหตุใดถึงเลือกคอมพิวเตอร์ประเภทนั้น
ตอบ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มีความเร็วในการประมวลผลสูงรองลงมาจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ต้องอยู่ในห้องที่ควบคุมอุณหภูมิและปราศจากฝุ่นละออง และได้รับการพัฒนาให้มีหน่วยประมวลผลหลายหน่วยทำงานพร้อม ๆ กันเช่นเดียวกับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ แต่มีจำนวนหน่วยประมวลผลที่น้อยกว่า จึงทำให้สามารถประมวลผลคำสั่งได้หลายสิบล้านคำสั่งต่อวินาที ระบบคอมพิวเตอร์ของเครื่องเมนเฟรมส่วนมากจะมีระบบคอมพิวเตอร์ย่อย ๆ ประกอบอยู่ด้วย เพื่อช่วยในการทำงานบางประเภทให้กับเครื่องหลัก มีราคาแพงมาก (แต่น้อยกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์) เหมาะกับงานที่มีข้อมูลที่มีปริมาณมากต้องประมวลผลพร้อมกันโดยผู้ใช้นับพันคน (Multi-user) ใช้กับองค์กรใหญ่ ๆ ทั่วไป เช่น งานด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ การควบคุมระบบเครือข่าย งานพัฒนาระบบ งานด้านธุรกิจ ธนาคาร งานสำมะโนประชากร งานสายการบิน งานประกันชีวิต และมหาวิทยาลัย เป็น
8.คอมพิวเตอร์พกพาหรือโน้ตบุ๊ค จัดอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทใด
ตอบ ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)
9.องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยกี่ด้าน ได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ 5 ด้าน  - บุคลากร (Peopleware)
     -  ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
     -  ซอฟต์แวร์ (Software)
      - ข้อมูล(Data) สารสนเทศ(Information)
      - กระบวนการทำงาน ( Procedure )
10.ให้นักเรียนวาดรูปแสดงขั้นตอนของสารสนเทศ
 
11.ให้นักเรียนแต่ละคนบอกถึงประโยชน์ และวิธีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการเรียน
ตอบ -ช่วยนำเสนอข้อมูลได้หลากหลายรุปแบบ
        -ช่วยรวบรวมข้อมูลต่างๆ
        -ช่วยให้ผู้เรียนได้ด้วยตัวเอง
        -ช่วยแลกเปลี่ยนและนำเสนอแนวความคิด
        -ช่วยขยายโอกาสในการศึกษา
        -ช่วยผลิตหน่วยการศึกษา
        -ช่วยอำนวยความสะดวกในการศึกษา

12.ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นว่าคอมพิวเตอร์มีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์หรือไม่อย่างไร และนักเรียนคิดว่าทุกคนมีความจำเป็นต้องเรียนรู้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์หรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ  มีความจำเป็นมากในชีวิตประจำวัน เพราะเราจะต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานและค้นหาสิ่งต่างๆที่เราต้องการ
และจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ไว้ เพราะเราจะได้ทันเทคโนโลยีที่จะต้องนำมาใช้ แต่ถ้าเราไม่รู้เราก็ทำอะไรไม่ค่อยถูก